ระบบข้อมูลนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนและการสอนในรายวิชา โครงงานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดย หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลจากเครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านวิชาการสหวิทยาการที่เกี่ยวกับมิติของ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูล นวัตกรรมต่าง ๆ ที่พร้อมนำไปใช้ประโยชน์ และส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านการจัดประชุมวิชาการ/อบรม/เสวนา ให้พร้อมปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ได้ส่งผลต่อการเกิดภัยพิบัติที่ถี่และรุนแรงยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ (Bio-Circular-Green Economy) ที่เริ่มจากการเข้าใจในทุนทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญา และ ศิลปวัฒนธรรม และต่อยอดสู่การบริหารจัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยองค์ความรู้และนวัตกรรมในหลายศาสตร์ ที่จะผลักดันให้สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal) ทั้ง 17 ข้อ โดยเฉพาะเป้าหมาย 8 (งานที่ดีและเศรษฐกิจที่เติบโต) 12 (บริโภคและผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ) 13 (แก้ปัญหาโลกร้อน) และ15 (ชีวิตบนบก).
เพื่อให้พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ที่ทันต่อสถานการณ์และรองรับผลกระทบ รวมทั้ง ป้องกันปัญหาจากโครงการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่.
พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเฉียงหนือ.